เรียนรู้นอกห้องเรียน
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559
วันเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 18 -28 สิงหาคม 2559 เปิดให้บริการระว่างเวลา 9.00 – 19.00 น. (เข้าชมฟรี)
ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 2-8) เมืองทองธานี
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559 เป็นงานแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี มีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมมากมาย โดย ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ผ่านกิจกรรมที่จะสร้างความสนุก ตื่นเต้น และเสริมสร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้เข้างาน
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559 เป็นงานแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี มีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมมากมาย โดย ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ผ่านกิจกรรมที่จะสร้างความสนุก ตื่นเต้น และเสริมสร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้เข้างาน
นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลัง อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2559 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลัง อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2559 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
1.นิทรรศการนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
2.นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและการขนส่ง
3.นิทรรศการการแพทย์ในยุคดิจิทัล
4.นิทรรศการอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพโลก (World Biotech Tour)
5.นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ
6.นิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์ เรื่องของ “ไข่”
7.นิทรรศการในปีสากลของ UNESCO ถั่วพัลส์ ความหวังของประชากรโลก
“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
นิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์ เรื่องของ “ไข่”
Eggibiton: มหัศจรรย์แห่งไข่
นิทรรศการที่มีสาระน่ารู้คู่ความบันเทิงด้วยเรื่องราวหลากหลายแง่มุมที่
เกี่ยวกับไข่ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด
พร้อมทั้งกิจกรรมทำมือและการแสดงทางวิทยาศาสตร์บนเวที Mini stage
โดยแบ่งการนำเสนอZONE 1: ไข่...จุดกำเนิดชีวิต จุดกำเนิดเรา
ทำความรู้จัก “ไข่” แล้วค้นหานิยามของการกำเนิดสิ่งมีชีวิต ผ่านการนำเสนอข้อมูลพื้นฐานน่ารู้ทางชีววิทยา อาทิ โครงสร้างและองค์ประกอบ รวมทั้งการจัดจำแนกไข่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ แล้วมาร่วมย้อยรอยวิวัฒนาการของการสืบเผ่าพันธุ์เพื่อการอยู่รอดผ่านเรื่อง ราวอันน่าทึ่งของไข่ฟองแรกของโลกที่มีอายุกว่า 500 ล้านปี
ZONE 2: มหัศจรรย์แห่งไข่
สัมผัสถึงความตื่นตา-ตื่นใจไปกับเรื่องราวอันหลากหลายของรูปทรง ขนาด และสีสันลวดลายของไข่ในสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่ธรรมชาติได้รังสรรค์ไว้อย่าง วิจิตรบรรจง ผ่านการจำลองบรรยากาศตามถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์แต่ละชนิดแบบสมจริง ที่จะนำไปสู่การไขปริศนาอันน่าทึ่ง แล้วพลาดไม่ได้กับ Highlight ชิ้นสำคัญของโซนนี้ ด้วยฟอสซิลไข่สัตว์เลื้อยคลานร่วมยุคไดโนเสาร์ที่เล็กกว่าไข่นกกระทา แต่มีอายุกว่า 125 ล้านปี นับเป็นไข่ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีรายงานการค้นพบในประเทศไทย
ZONE 3: ไข่ไขไอเดีย
ร่วมค้นหาแรงบันดาลใจ จาก “ไข่” ที่เป็นการรังสรรค์ของธรรมชาติสู่การสรรสร้างผลงานทางสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อ สร้าง “รูปทรงไข่” ของมนุษยชาติที่ข้ามกาลเวลามาจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งสะท้อนถึงสุนทรียศาสตร์แห่งการผสมผสานอย่างกลมกลืนระหว่างความงดงามและ ความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้าง แล้วมาไขความลับชั้นเชิงช่างผ่านกิจกรรมการต่อแบบจำลองสถาปัตยกรรมรูปทรงไข่ ที่เปิดโอกาสให้ลงมือทำด้วยตนเอง
ZONE 4: สาระไข่น่ารู้
เปิดเผยเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เป็นเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ “ไข่” ในมิติทางสังคมวัฒนธรรม ที่จะช่วยไขข้อข้องใจถึงที่มาที่ไปของ “ไข่” ที่ปรากฏเป็นชื่อของสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมล้อมอยู่รอบตัวเรามากกว่าที่คิด ตลอดจนการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์ของไข่ที่เป็นมากกว่าการให้คุณ ค่าทางโภชนาการ แต่รวมทั้งการบำรุงความงามและศิลปหัตถกรรมล้ำเลอค่า
เป็นสื่อการสอนเพื่อให้เข้าใจถึงการไหลของน้ำบนพื้นผิวโลก โดนการใช้แบบจำลองของพื้นผิวโลกที่สร้างจากทราย ผู้เล่นสามารถสร้างพื้นผิวของโลกได้ตามต้องการ พื้นผิวจะถูกสแกนด้วยกล้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเส้นขั้นความสูงและคำนวณทิศทางการไหลของน้ำ เส้นชั้นความสูงและการไหลของน้ำที่คำนาณได้จะถูกฉายกลับมาที่กระบะทรายเพื่อแสดงพื้นผิวของทราย และการไหลของน้ำแบบเสมือนจริง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเรียนรู้การสร้างแบบจำลองของพื้นผิวโลก
2.เพื่อเรียนรู้การใช้แผนที่ภูมิประเทศและการใช้เส้นความสูงในการแสดงพื้นผิวโลก
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
นิทรรศการในปีสากลของ UNESCO ถั่วพัลส์ ความหวังของประชากรโลก
การ
ประกาศของสหประชาติที่กำหนดให้ ปี 2016 เป็นปีสากลแห่งถั่วพัลส์
เนื่องจากเป็นอาหารในกลุ่มโปรตีนไขมันต่ำ มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างมาก
แต่ความนิยมกลับน้อยลง
ซึ่งความสำคัญเหล่านี้ทางมหกรรมวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
จัดไว้ให้ชมอย่างสนุกสนานกิจกรรม
International Year of Pulses 2016 ได้แจกแจงให้เห็นเลยว่า "ถั่วพัลส์"
(พืชตระกูลถั่ว) นั่นมีอะไรบ้าง? ไล่มาตั้งแต่ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ
ถั่วลูกไก่ ถั่วขาว ซึ่งเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวในช่วงที่เมล็ดแก่คาต้น
แต่ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา การบริโภคถั่วพัลส์กลับลดลง ทั้งๆ
ที่ถั่วพัลส์เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกราคาถูก ไม่มีคอเลสเตอรอล
เส้นใยอาหารสูง ส่วนวิตามิน แร่ธาตุที่หลากหลาย
ซึ่งมีผลทั้งช่วยลดความเครียดจากอาการไมเกรน ลดภาวะโลหิตจาง
และปราศจากสารกลูเตน จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการแพ้อาหารที่มีสารกลูเตนผสม ส่วน
การเพาะปลูก ก็ใช้น้ำน้อยและก่อมลพิษทางอากาศ
น้อยกว่าการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์ด้วย โดยพบว่าการผลิตเนื้อวัว 1
กิโลกรัมสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 9.5 กิโลกรัม ขณะที่การผลิตถั่วพัลส์ 1
กิโลกรัม สร้างก๊าซคาร์บอไดออกไซด์เพียง 0.5 กิโลกรัมเท่านั้นนอก
จากนี้ถั่วพัลส์ยังเป็นพืชบำรุงดินชั้นดี หากปลาเป็นพืชหมุนเวียน
เพราะถั่วพัลส์ให้กรดอะมิโนและแร่ธาตุคาร์บอน ไนโตรเจน
ที่จะไปช่วยเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดิน ผล
ผลิตของถั่วพัลส์
จึงเป็นหนึ่งหนทางสร้างความมั่นคงด้านอาหารของโลกและการสร้างโอกาสทาง
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศที่มีความสามารถในการส่งออก เช่น ไทย
รวมภาพกิจกรรมภายในงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
โดยนำเสนอพระอัจฉริยภาพด้านการประดิษฐ์ ตั้งแต่การประกอบวิทยุแร่
โมเดลเรือรุ่นต่างๆ สิ่งประดิษฐ์เพื่อปวงชน
เครื่องจักรกลเติมอากาศแบบจำลอง ทรงพัฒนาคนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กับโรงเรียน พระดาบสในพระราชดำริ
เพื่อฝีกอาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและขาดแคลนทุนทรัพย์
ชมเรือใบฝีพระหัตถ์ลำจริง “เรือซุปเปอร์มด AX7” และ “เรือเวคา 2”
ที่ทรงออกแบบและต่อเรือด้วยพระองค์เอง ชม “Ball Kinetic System” ซึ่งเป็นGimmick ของงาน
เพื่อสื่อให้เห็นถึงพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการที่
พระองค์ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้วยการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ก่อเกิดเป็นประดิษฐกรรมล้ำค่า
เพื่อขจัดปัดเป่าปัญหาและขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ นอกจากนี้
ยังมีการนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบรมวงศานุวงศ์อีก
ด้วย
ทักษะที่ได้ (skill)
1.ได้ออกไปค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง
2.คิดวิเคราะห์ สรุปผล
3.ได้สังเกตเกี่ยวกับการทดลองต่างๆ
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
นำความรู้ที่ได้มาใช้สอนและบูรณาการเกี่ยวการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้จริง
Evaluation for classmated
เข้าร่วมกิจกรรมในงานอย่างสนใจและตั้งใจ อาจารย์ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆในการไปเข้าร่วมงาน
Evaluating teacher
อาจารย์ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆในการไปเข้าร่วมงาน
Classroom Evaluation
สถานที่กว้าง สะอาดมาก เหมาะสมกับการจัดงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น