วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559


RECORD  7

TUESDAY 20 SEPTEMBER 2559 

เนื้อหาการเรียน  (KNOWLEDGE)

        วันนี้อาจารย์ให้คัด ก-ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยมเต็มบรรทัด วันนี้เป็นการคัด ก-ฮ ครั้งที่ 3 ที่ไม่ได้คัดตามรอยเส้นปะ  การค้ดครั้งนี้เริ่มรู้สึกคัดเร็วขึ้นกว่าครั้งก่อนๆเพราะว่าอาจจะเริ่มชินมือมากขึ้น ทำให้การคัดครั้งนี้ใช้เวลาไม่นาน หลังจากที่นักศึกาาคัดกันเสร็จหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนของวันนี้



  
         อาจารย์ให้นักศึกษาเอาของเล่นมานำเสนอเพิ่มเติมจากเมื่ออาทิตย์ก่อนๆเพราะอาทิตย์ก่อนนั้นอาจารย์ไม่มีเวลาได้อธิยายเพิ่มเติมของเล่นของนักศึกษา วันนี้อาจารย์เลยให้นำเสนอของเล่นแต่ล่ะคนแล้วให้นักศึกษาแต่ล่ะคนบอกว่าของเล่นตนเองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไ เพื่ออาจารย์จะได้อธิบายเพิ่มให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ของใครที่ทำมาไม่ผ่านอาจารยืก็ให้คำแนะนำนักศึกษาเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้กลับไปทำใหม่ ที่ดีและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ภาพของเล่นของนักศึกษา ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์





         หลังจากที่อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นเสร็จแล้ว อาจารย์ก็เอาของเล่นของรุ่นพี่มาให้นักศึกษาได้ดูเพื่อที่จะได้นำเอาไปประยุกต์ใช้ได้ในการทำของเล่นให้เด็กได้เล่น ของเล่นบางอย่างอาจเล่นได้คนเดียว แต่บางอย่างอาจเล่นได้หลายคน เล่นได้หลายคนต้องเอาไปจัดไว้ตามมุมเพื่อเอาวางไว้ให้เด็กได้เล่นและได้ทดลองกัน การทำของเล่นเราต้องดูด้วยว่าเรากำลังสอนเด็กๆในหน่วยไหน ถ้าเรากำลังสอนหน่วยไหนอยู่เราตฃควรที่จะทำของเล่นในหน่วยนั้นๆ


นี้คือภาพของเล่นของรุ่นพี่ที่อาจารย์เอามาให้พวกเราดู







 กิจกรรมต่อไปคือ อาจารย์แจกกระดาาเอ 4 ให้นักศึกษาคนล่ะ 1 แผ่น หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาวาดมือของตัวเราเองโดยให้เอามือไปวางไว้ที่กระดาษแล้ววาดตามรอยนิ้วมือของเรา หลังจากที่วาดเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้เอาสีไปวาดทับรอยนิ้วมือของเรา แล้วก็วาดกส้นโค้งลงไปที่ภาพนิ้วมือของเราให้เต็มโดยเส้นโค้งนั้นต้องเว้นระยะห่างไม่ต้องถี่มากเกินไป แล้วก็เอาอีกสีหนึ่งลากตามเส้นโค้งทุกๆเส้น หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษามองไปที่ภาพนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเราจะมองเห็นเป็นภาพสามมิติ การทำภาพสามมิติเองด้วยวิธีง่ายๆที่เด็กๆก็สามารถทำได้เอง





           ต่อไปเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของน้ำไหลที่ลงมาสู่ที่ต่ำ แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแลง จากรูปภาพคืดถ้าเรายกถาดตัวที่ปล่อยน้ำไหลสูงหรือวางไว้เท่ากันก็จะทำให้น้ำไม่ไหลหรือไหลเพียงนิดเดียว แต่ถ้าเรายกถาดที่ตัวปล่อยน้ำไหลต่ำลงน้ำก็จะไหลมาก เป็นการจำลองเรื่องการเกิดน้ำพุและสาเหตที่คนได้คิดสร้างน้ำพุขึ้นมาเกิดจากหลักการนี้เอง






          การทดลองของน้ำที่อยู่ในสายอยาง การยกสายยางในระดับเท่าๆกันก็จะทำให้น้ำอยู่ในระกับเดียวกัน แต่ถ้าเอียงฝั่งไหนฝั่งหนึ่งก็จะทำให้สายยางไหลตามฝั่งที่เราเอียง





            ต่อไปเป็นกิจกรรมของดอกไม้บาน โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกระดาษเอ 4 กัน 1 แผ่น แบ่งออกเป็น 4 สวน แล้วให้นักศึกษาพับกระดาษ 2 ทบ แล้วให้นักศึกษาเอากรรไกรมาตัดเป็นรูปดอกไม้ ให้ระบายสีไว้ตรงกลางดอกไม้ แล้วพับกลีบดอกไม้เป็น 4 ส่วน เป็นรูปสี่เหลี่ยม เอาดอกไม้ไปวางไว้ในถาดที่มีน้ำ หลังจากนั้นให้นักศึกษาลองสังเกตดูว่าดอกไม้ของเรามีการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน จากดอกที่หุบอยู่ก็จะเริ่มบานเรื่อยๆ
ประเด็นปัญหาเรื่องดอกไม้บาน
-ทำยังไงให้ดอกไม้บานเอง
-ตั้งสมมุติฐาน ถ้าเรามีน้ำแล้วเอากระดาษดอกไม้ไปวางบนน้ำ แล้วแต่คนจะคาดคะเน เช่น ทำไมของเพื่อนแต่ละคนถึงบานเร็วบานช้ากว่ากัน กระดาาเริ่มเปียกจากข้างล่างซึ่มขึ้นไปตามพื้นที่แล้วทำให้กระดาษบานออก เช่น ที่คนเราเอามาทำ ผ้าอนามัย หรือ กระดาษทิชชู เพราะการทดลองแบบนี้ทำให้ซึมซับน้ำได้ดี
-การเก็บการทดลอง เช่น การสังเกต การมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้











           
             ต่อไปเป็นกิจกรรมสุดท้ายคือให้นักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ เรื่องแสง อาจารย์จะดูว่าแต่ละกลุ่มทำได้ดีมากแต่ไหน หรือต้องปรับปรุงเพิ่มเติมไหม หลังจากที่แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็ให้คำแนะนำต่างๆว่าควรปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง เพื่อให้นักศึกษาไปปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมใหม่เพื่อของเล่นของเราจะได้มีคุณค่าและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น










ส่งงานอาจารย์

 ของเล่นภาพเหมือนที่ขยับได้ ดิฉันเอาภาพช้างเล่นลูกบอล






ตัวหมุนที่เป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน เวลาเราหมุนเราจะเห็นได้ว่าสองภาพนี้จะมาอยู่รวมกัน ดิฉันเลยเอา ภาพตู้ปลากับปลา





คลิปวีดีโอการเล่น







ทักษะ ( SKILL)

1.ได้ทักษะการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์
2.ได้ทักษะการคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการมีความคิดสร้างสรรค์
5.ทักษะการสื่อและเทคโนดลยี
6.ทักษะการลงมือประดิษฐ์ของเล่นเอง
7.ทักษะการสังเกต การทดลอง

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถประดิษฐิ์สื่อทางวิทยาศาสตร์ได้เองและเอาไปใช้สอนกับเด็กได้จริงในอนาคตและสามารถออกแบบกิจกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์ได้ การเอาความรู้ต่างๆที่อาจารย์ให้ดูของเล่นและการทดลองต่างๆที่อาจารย์เอามา ให้นักศึกษาได้ทดลอง เอามาปรับใช้หรือทำสื่อวิทยาศาตร์ ได้ด้วยตนเองหลังจากที่ศึกษาหรือดูของเล่นและการทดลองต่างๆที่อาจารย์ให้ทำ นั้นจึงทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับแสงสีและเงาทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักาาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การเอาของเล่นและการทดลองต่างๆมาใช้สอน
3.การปล่อยให้นักศึกษาศึกษาสื่อเองตามความอิสระ
4.ให้นักศึกษาได้สังเกตุ ทดลองสิ่งใหม่ๆ

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์   VOCABULARY 

1.present = นำเสนอ
2.toy = ของเล่น
3.observe = สังเกต
4.thinking = การคิด
5.Invention = การประดิษฐ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น