Record 4
Tuesday 30 August 2559
วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการคัด ก-ฮ ตามรอยปะ เพราะการเรียนของครูปฐมวัยต้องเขียนตัวหนังสือที่ชัดเจน หัวกลมตัวเกลี่ยม เวลาที่เขียนให้เด็กดูเด็กจะได้จดจำและเข้าใจได้ง่าย การเขียนสวย คล่องแคล่ว มีความสำคัญต่อครูปฐมวัยมาก
ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
อาจารย์สรุปและทบทวนเนื้อหาความรู้เมื่ออาทิตย์ที่แล้วให้นักศึกษาฟัง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น เพราะเมื่ออาทิตย์ที่แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาสรุปและเรียนรู้ด้วยตัวเอง อาทิตย์นี้อาจารย์เลยทบทวนเผื่อข้อไหนที่นักศึกษาไม่เข้าใจ อาจารย์จะได้อธิบายเพิ่มเติมให้นักศึกษาฟัง ก่อนที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่อไป หลังจากที่อาจารย์ทบทวนให้นักศึกฟังครบหมดแล้ว อาจารย์ก็เริ่มกิจกรรมใหม่ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน กลุ่มล่ะ 5 คน ล้อมวงกันและให้ประเด็นปัญหา คือ มีของอยู่ 2 สิ่ง ได้แก่ กระดาษ 1 แผ่น และคลิป 1 ตัว ทำเรื่องอากาศให้นักศึกษาระดมความคิดกันว่าเราจะช่วยกันเอากระดาษและ
คลิปมาอยู่รวมกันยังไงให้เกิดอากาศเกิดขึ้น
ภาพกิจกรรมของการนำเสนอเรื่อง อากาศ ของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1
การพับกระดาษเป็นรถและเอาคลิปเสียบไว้กับรถ ถ้าเอาคลิปออกจากตัวรถแล้วเป่าด้วยลมปากของเรารถจะวิ่งไปตามลมปากของเราเพราะกระดาษมีความเบามีลมเข้าตามช่องของรถได้ แต่ถ้าเราเอาคลิปไปติดไว้กับรถ จะทำให้รถขยับตัวช้าลงจากลมเป่าของเรา
ขั้นตอนการพับรถกระดาษ
1. เริ่มการสอนพับกระดาษเพื่อทำเกมรถแข่งพลังลมปราณกันเลยโดยขั้นตอนแรก พับครึ่งกระดาษ A4
2.พับมุมกระดาษทั้ง 2 ข้างเข้ามาตามรูป
3.พับมุมแบบรูปด้านบนอีกด้าน
จะได้แนวเส้นที่ไขว้กัน ตามรูป
4.พับครึ่งที่จุดตัดของเส้นที่ไขว้กัน
5. เมื่อได้รอยเส้นเรียบร้อยแล้ว
ให้พับเข้าหากันตามรูป
6.สังเกตว่าเมื่อพับเข้าหากันตามรอย
และจะได้ปลายแหลมทั้งสองด้านตามรูป
7.พับกระดาษด้านบนของมุมแหลมทั้งสองข้าง
ไปไว้อีกฝั่ง แล้วพับกระดาษด้านข้าง
ช่วงลำตัวเข้มาตรงกลาง
ทำแบบนี้ทั้งสองข้าง
8.เมื่อพับกระดาษตามแล้วจะได้ออกมา
ลักษณะตามรูปดังนี้
9.จากนั้นพับส่วนบนของด้านหนึ่งให้แหลม
เหมือนจรวด ลักษณะตามรูป
10. นำปลายอีกด้านมาสอดเข้ากับ
ส่วนปลายแหลมที่พับไว้ สังเกตให้ปลายทั้งสองข้างของด้านพับเมื่อครู่
สอดเข้ากับช่องของด้านที่พับกลับมา
11.หลังจากได้ตัวรถแข่งแล้ว
ก็นำเจ้ารถกระดาษมาตกแต่งให้สวยงาม
กลุ่มที่ 2 กลุ่มของพวกเราช่วยกันระดมความคิด
ขั้นตอนแรก หาคำตอบของคำว่าอากาศ อากาศคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ไม่มีตัวตน สัมผัสไม่ได้ แต่เรารู้สึกถึงมันได้ เช่น อากาศเย็น อากาศร้อน อบอุ่น
ขั้นตอนที่2 พูดคุยกันเกี่ยวกับอุปกรณ์สองสิ่งที่ได้มา ว่าสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะสอนเด็กเรื่องอากาศ
ขั้นตอนที่3 ลองผิดลองถูก โดยการนำกระดาษมาพับเป็นจรวดแต่ก็พบว่าไม่สำเร็จ จึงลองเปลี่ยนมาใช้การเปรียบเทียบระหว่างของสองสิ่งดู
ขั้นตอนที่ 4 ทดลองนำของสองสิ่งโยนลงพื้น สังเกตว่าสิ่งไหนตกสู่พื้นก่อนกัน แล้วหาคำตอบว่าเพราะอะไร
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อได้ผลการทดลองก็เกิดคำถามว่าทำไม
ของสองสิ่งจึงตกถึงพื้นไม่เท่ากัน จึงลองนำกระดาษมาขยำให้เป็นก้อนกลมๆ
แล้วทดลองใหม่ ปรากฎว่าวัตถุตกลงสู่พื้นพร้อมๆกัน
กลุ่มที่ 3 การวาดรูปภาพอากาศต่างๆ
เป็นการนำเสนอรูปภาพอากาศต่างๆเป็นเข็มนาฬิกาเพื่อเอาคลิปมาดึงเป็นเส้นยาวเอามาทำเป็นเข็มนาฬิกา แล้วเวลาที่พูดถึงอากาศไหนก้อจะใช้คลิปกมุนไปชี้ที่อากาศนั้น
กลุ่มที่ 4 การพับกระดาษเป็นลูกยาง
ขั้นตอนการพับลูกยาง
1.ตัดกระดาษได้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วนำกระดาษมาพับครึ่ง
2.พับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัดตัดตรงกลางชิดรอยพับเลือกตัดด้านใดด้านหนึ่ง
3.ตัดกระดาษเสร็จแล้วพับส่วนที่ตัดไปคนละด้าน
4.นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่ไม่ได้ตัด แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว
กลุ่มที่ 5 การพับนกกระดาษ
ขั้นตอนการพับนกกระดาษ
1. นำกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาพับในแนวทแยง รีดให้เป็นรอยแล้วคลี่ออก
2. พับครึ่งกระดาษในแนวขนานทั้งสองทาง รีดให้เรียบแล้วคลี่ออก
3. จับกระดาษตามรอยที่พับไว้ จีบเข้ามาตามรูป
4. เสร็จแล้วรีดให้เรียบ
5. พับขอบสองข้างของกระดาษ และพับส่วนปลายบนของกระดาษตามรูป รีดให้เรียบแล้วคลายออก
6. ดึงกระดาษขึ้นตามรอยพับ
7. จะได้เป็นดังรูป รีดให้เรียบแล้วทำอย่างเดียวกันทั้งสองด้าน
8. พับขอบด้านล่างเข้าหาตรงกลาง ทำทั้งสองด้าน
9. พับเฉียงๆ ขึ้นตามรูป รีดให้เรียบแล้วคลายออก
10. เปิดกระดาษเล็กน้อย งอกระดาษขึ้นตามรอยที่พับไว้
11. ทำอย่างนี้ทั้งสองข้าง
12. ที่ปลายข้างหนึ่ง พับปลายลงมาเป็นจงอยปากนกกระเรียน เสร็จแล้วให้ดึงปีกทั้งสองข้างออกเบาๆ
13. ก็จะได้เป็นนกกระเรียนที่เสร็จสมบูรณ์แล้วล่ะค่ะ
กลุ่มที่ 6 การพับกังหัน
ขั้นตอนการพับกังหันกระดาษ
1.ขีดเส้นตรงจากมุมด้านบนเฉียงลงไปยังมุมด้านล่าง เมื่อทำครบแล้วก็จะได้กากบาทตัดกันที่กึ่งกลางกระดาษพอดิบพอดี
2.ตัดกระดาษตามเส้นที่ขีดไว้ แต่ไม่ต้องตัดจนสุด เว้นจากกึ่งกลางกระดาษสัก 3 นิ้ว ตัดทั้ง 4 มุมเลยตรงนี้จะเป็นใบกังหัน
3.เจาะรูตรงจุดกึ่งกลางกระดาษแข็ง
4.เจาะรูตรงมุมหนึ่งของใบกังหันค่ะ หากจะเจาะที่มุมด้านขวา ก็ต้องเจาะที่มุมด้านขวาของทั้ง 4 ใบ (ตามรูป)
5.ลองพับกังหัน โดยพับใบกังหันที่เจาะรูไว้เข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษ เมื่อเราพับทั้ง 4 มุมเข้าหาจุดกึ่งกลางกระดาษเราก็จะได้กังหันลม
ทักษะ (Skill)
1.ทักษะการออกแบบ
2.ทักษะการคิด
3.ทักษะการนำเสนอ
4.การคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
ของเล่นที่ทำวันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษ เราสามารถนำสิ่งอื่นมาประดิษฐ์ได้เพื่อเอาไปสอนเด็กได้จริง และการทำสิ่งแปลกใหม่เพื่อใก้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเราเองให้มีความคิดหลากหลาย
เทคนิคการสอน (Technique teaching)
1.การทดทวนความรู้เพิ่มเติมให้นักษา
2.การให้นักศึกษาได้ทดลองแสดงความคิดเห็น
3.นำเสนอผลงานของตนเองแต่ล่ะกลุ่ม
4.ปล่อยให้คิดแบบอิสระตามใจชอบโดยไม่บังคับ
5.ได้สังเกต การทดลอง
แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกตามกฎระเบียบ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน
แต่งกายสะอาดเรียบร้อย มาตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมิน อาจารย์
อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลาทุกครั้ง พูดจาสุภาพเรียบร้อยเป็นกันเองมาก มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนเสมอ
คำศัพย์ VOCABULARY
1.gravity = แรงโน้มถ่วง
2.creativty = ความคิดสร้างสรรค์
3.dlanning =การออกแบบ
4.test = การทดลอง
5.practice = ลงมือปฏิบัติ
ประเมินผล (Assessment)
ประเมินตนเอง
แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกตามกฎระเบียบ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน
แต่งกายสะอาดเรียบร้อย มาตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมิน อาจารย์
อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลาทุกครั้ง พูดจาสุภาพเรียบร้อยเป็นกันเองมาก มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนเสมอ
คำศัพย์ VOCABULARY
1.gravity = แรงโน้มถ่วง
2.creativty = ความคิดสร้างสรรค์
3.dlanning =การออกแบบ
4.test = การทดลอง
5.practice = ลงมือปฏิบัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น