วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

 

รุวิจั

วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

(ผู้ทำการวิจัย ศศิวรรณ สำแดงเดช)

         การเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและการทำงานที่เด็กสนใจ ได้ลงมือปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ของเด้กปฐมวัยเป็นการเรียน เพื่อสร้างพัฒนาการเพื่อให้เด็กเต้็มศักยภาพ เนื่องจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถสอดแทรกได้อยู่ทุกกิจกรรม นิทานเป็นสิ่งที่เด็กปฐมวัยชองฟังนิทาน  เพราะการฟังนิทานให้ความสนุกสนาน ตอลสนองความต้องการของเด็กไม่ว่าจะเป็นการอยากรู้อยากเห็น การยอมรับ การเสริมความคิด ความเข้าใจและการรับรู้ของเด็ก เมื่อการฟังนิทานเป็นสิ่งที่เด็กชอบเด็กจึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี สามารถจดจำ กล้าแสดงออก การจัดกิจกรรมการเล่านิทานจะมีผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ดี ซึ้งทักษะพื้นฐานที่ผู้วิจัยสนใจศึกาาในครั้งนี้ ได้แกทักษะในการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร
ความมุ่งหมายในการวิจัย 
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานของทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ขอบเขตของการวิจัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
     กลุ่มวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำงลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทย กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยการทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน ที่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
หลักการจัดกิจกรรมการฟังนิทาน
ขั้นนำ การเข้าสู่การฟังนิทาน โดยใช้คำคล้องจอง เพลง เกม การสนทนา การใช้คำถาม สร้างข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างครูกับเด็ก ในการปฏิบัติตัวระหว่างฟังนิทานและฟังนิทานจนจบเรื่อง
ขั้นดำเนินกิจกรรม เด็กและครูสนนาในเรื่องราวเนิทาน และร่วมกันทำกิจกรรมทดลองหลังการฟังนิทาน เพื่อให้เด็กฝึกทักษะในเรื่อง การสังเกต การจำแนกและการสื่อสาร ที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ตามจุดประสงค์ ของการทดลองโดยเด็กทำการทดลองด้วยตนเอง เด็กทำการทดลองโดยครูทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง และเด็กกับครูทำการทดลองร่วมกัน
ขั้นสรุป   เด็กร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานและทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ
ประเภทของนิทาน
1.นิทานพื้นบ้าน
2.นิทานคติธรรม
3.มหากาพย์และนิทานวีระบุรุษ
4.หนังสือภาพ
วิธีดำเนินการทดลอง
      การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ล่ะ 3 วัน วันล่ะ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30-09.00 รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ผู้วิจัยใช้คะแนนสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ล่ะ 3 วัน วันล่ะ 30นาที ในช่างเวลา 08.30-09.00น.ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลองโดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับกลุ่มเด็กตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของคุณครูผู้สอน
3.เมื่อทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ผู้วิจัยทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4.นำข้อมุลที่ได้จากการทดสอบไปทกการวิเคาระห์ข้อมูลทางสถิติ
กิจกรรมหลังการฟังนิทาน เป็นการทำกิจกรรมต่อเนื่องจากการเล่านิทานเมื่อเด็กได้ฟังนิทานจยจบเรื่อง เด็กจะได้ทำการทดลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เช่น นิทานครึ่งวงกลมสีแดง เด็กจะทำการทดลองเรื่อง เรื่อล่ม อุปกรณ์ที่เด้กได้รับคือ เรือกระดาา ลูกแก้ว ดินน้ำมัน อ่างใส่น้ำ เด็กได้พับเรือกระดาษแบบง่ายๆ และตอบคำถามว่าเรือนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำ เด็กอธิบายว่า ลอยน้ำได้เพราะเรือเบาจากนั้นเด็กค่อยๆใส่ลูกแก้วไว้ในเรือทีละคน เด็กตอบคำถามว่าใส่ลูกแก้วทีล่ะลูกเรือจะจมหรือลอยน้ำ เด็กบางคนบอกว่าจมเพราะใส่ลูกแก้วลงไป เด็กบางคนบอกว่าลอยเพราะเห็นเรือบรรทุกของได้เยอะ
กิจกรรมนี้เด้กจะได้การแยกประเภท การสังเกตและการสื่อสาร
 นิทานครึ่งวงกลมสีแดง การทดลองเรือล่ม


 นิทานลูกไก่กับลูกเป็ด เรื่อง การลอยการจม


 นิทานเรื่องการเดินทางของลูกยาง การทดลองคอร์ปเตอร์กระดาษ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น