วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559


RECORD 6

TUESDAY 13 SEPTEMBER 2559 

เนื้อหาการเรียน  (KNOWLEDGE)

       วันนี้อาจารย์ให้คัด ก-ฮ หัวกลมตัวเหลี่ยมเต็มบรรทัด วันนี้เป็นการคัด ก-ฮ ครั้งที่ 2 ที่ไม่ได้คัดตามรอยเส้นปะ วันนี้ก่อนจะคัดอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการคัดลายมือของนักศึกษาบางคนว่าการคัดที่ถูกต้องควรคัดอย่างไร อาจารย์ได้คัดให้ดูบนหน้ากระดานดำเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพราะมีนักศึกษาบางคนอาจจะเขียนผิดวิธีบ้าง อาจารย์เลยให้นักศึกษาคัดใหม่ทุกคนเพื่อที่จะตรวจดูว่าดีกว่าครั้งก่อนมากน้อยเพียงใด เพราะคุณครูปฐมวัยต้องเขียนเร็วและถูกต้อง เพราะจะได้เป็นตัวอย่างที่ถูกให้แก่เด็กๆ

  นี้คือการคัดลายมือของดิฉัน ครั้งนี้ผิดแค่ตรง ร อย่างเดียวดีกว่าครั้งก่อน


           
              หลังจากที่คัดลายมือกันครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็เปิดตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์ของรุ่นพี่ให้ดูเพื่อให้นักศึกษาดูและเอาไปประยุกต์ในการเรียนการสอนในอนาคต ตัวอย่างของเล่นที่อาจารยืเอามาให้ดูมีประโยชน์ต่กนักศึกษามาก เพราะของเล่นบางอย่างสามารถเอาไปใช้สอนกับเด็กได้จริงและสามารถให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้เอง เพราะของเล่นนั้นทำง่ายและไม่ซับซ้อน

 ตัวหมุนๆสีรุ้ง

          ของเล่นชนิดนี้จะเกี่ยวกับเรื่องแสง สี และการหมุนของของเล่น การหมุนของของเล่นชิ้นนี้จะหมุนได้เพราะเกิดจากความหยื่ดหยุน ของพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ จึงทำให้เกิดการหยื่นหยุนขึ้นเลยทำให้เวลาดึงแล้วเราจะสามารถมองเห็นสีรุ้งต่างๆจากการดึงเชือก

เต่าทองพุ่งงน้ำ

          หลักทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเป่าอากาศเข้าหลอดสั้น ความหนาแนนของอากาศในขวดจะเพิ่มขึ้น ความดันอากาศจึงสูงขึ้นแรงดันอากาศที่สูงนี้ จะไปดันน้ำให้ออกมาทางหลอดยาว ยิ่งเป่าแรงดันจะยิ่งมาก น้ำพุ่งออกมาเป็นสายแต่ถ้าเป่าเบาน้ำก็จะออกมาน้อย

องค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่

1.คิดริเริ่ม
2.คิดคล่องแคล่ว
3.คิดยืดหยุน
4.คิดละเอียดละออ
5.คิดวิเคราะห์

ของเล่นเด็กปฐมวัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่

1.ทำแล้วเด็กได้เล่น
2.ทำขณะทดลองเวลาที่คุณครูสอน
3.ทำเพื่อประสบการณ์การจัดเป็นมุมวิทยาศาสตร์

เงาคืออะไร 

          เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทาง เดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น 
เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดิน ของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ  

1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
2. เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท





 มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยาการธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยื่น
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนียวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปกิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่บสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล้กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนทีแบบต่างๆ ของวัสดุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอาวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยี อวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีศีลธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี
มาตรฐาน 8.1 ใช้กระบสนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฎการทางธรรมชาติที่เกี่ยวขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงนั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

กิจกรรมต่อไปอาจารย์เอาสิ่งของวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ดูและทดลองการเปลี่ยนแปลงจากสายตาที่มองเห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น การทดลองเรื่องแสง


           การทดลองเรื่องการสะท้อนแสงของเงา เรามีกระจกเอามาประคบแล้วกางออกหลังจากนั้นก็เอาดอกไม้มาแค่ 3 กลีบ เพื่ีอที่จะเอามาวางไว้ล้างกระจกให้มันสะท้อน จากดอกไม้ 3 กลีบพอเอามาวางตรงล่างกระจกก็เป็นดอกไม้เต็มดอก เพราะการสะท้อนแสงของเงา จึงทำให้เรามองเห็นดอกไม้ในกระจกเต็มดอก อาจารย์ให้นักศึกษาไปนับกลีบของดอกไม้ว่ามีทั้งหมดกี่กลีบ จากการมองของนักศึกษานับได้ทั้งหมด 14 กลีบ สายตาบางคนอาจมองเห็น 12 กลีบบ้าง 13 บ้าง แล้วแต่ใครจะมอง


        เอาตุ๊กตาไปวาง 1 ตัวเราจะมองเห็นตุ๊กตาจากภายในกระจก 3 ตัว เพราะการสะท้อนแสงของเงาเราเลยมองเห็นตุ๊กตาเพิ่มขึ้นมา 


        แต่ถ้าเราบีบกระจกให้แคบลงแล้วเอาตุ๊กตาไปวางไว้เราจะมองเห็นตุ๊กตาหลายตัวเพราะเกิดจากการบีบกระจกให้แคบล





การเปลี่ยนแปลงของภาพคือ จะมีกระดาษอยู่ 2 แผ่น  หน้าแรกจะเป็นภาพของจระเข้กำลังกัดขนมปัง ส่วนแผ่นที่สองคือจระเข้กำลังเคี้ยวขนมปังแล้วถือขนมปังที่มือรอยกิดแล้ว ถ้าเราเปิดเปิดปิดภาพไปมาเร็วๆเราฏ็จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้





 ภาพนี้ก็จะเหมือนๆกับภาพจระเข้ถ้าเราเปิดปิดภาพเร็วๆเราก็จะมองมองเห็นภาพนี้เคลื่อนไหวได้



นี้คือการมองเห็นเรื่องสีต่างๆ ถ้าเราเอาสีมาผสมกันเราก็จะมองเห็นเป็นสีใหม่ เช่น สีแดงมาผสมกับเหลือง ก็จะมองเห็นเป็นสีส้ม หรือแดงผสมฟ้าเป็นสีเหลือง เป็นต้น 




  

นี้จะเป็นภาพของคู้อยู่คู่กัน เช่นคนกับม้า นกกับกรงนก เราจะใช้ภาพภาพทั้งสองมาแปะคู่กันโดยแปะหน้าแปะหลังให้หลังชนกัน ถ้าเราหมุนเร็วๆก็จะมองเห็นได้ว่าคนกำลังยื่นอยู่บนหลังม้า ส่วนนกก็จะอยู่ในกรง การเล่นเราต้องหมุนไม้ที่เสียใต้ภาพเร็วๆ

 
 เราดูแบบนี้อาจจะมองไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่ งั้นเราลองมาดูคลิปการเล่นกันเลย





ทักษะ ( SKILL)

1.ได้ทักษะการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์
2.ได้ทักษะการคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการมีความคิดสร้างสรรค์
5.ทักษะการสื่อและเทคโนดลยี

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถปรดิษฐิ์สื่อทางวิทยาศาสตร์ได้เองและเอาไปใช้สอนกับเด็กได้จริงในอนาคตและสามารถออกแบบกิจกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์ได้ การเอาความรู้ต่างๆที่อาจารย์ให้ดูของเล่นและการทดลองต่างๆที่อาจารย์เอามาให้นักศึกษาได้ทดลอง เอามาปรับใช้หรือทำสื่อวิทยาศาตร์ ได้ด้วยตนเองหลังจากที่ศึกษาหรือดูของเล่นและการทดลองต่างๆที่อาจารย์ให้ทำนั้นจึงทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับแสงสีและเงาทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักาาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การเอาของเล่นและการทดลองต่างๆมาใช้สอน
3.การปล่อยให้นักศึกษาศึกษาสื่อเองตามความอิสระ
4.ให้นักศึกษาได้สังเกตุ ทดลองสิ่งใหม่ๆ

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์   VOCABULARY 

1.reflective light = แสงสะท้อน
2.light = แสง
3.shadow = เงา
4.rotation = การหมุน
5.color = สี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น