วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559


RECORD 12

TUESDAY  25  OCTOBER 2559

เนื้อหาการเรียน (KNOWLEDGE)

                 วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการพูดคุยกันก่อน อาจารย์ได้พูดคุยกับนักศึกษาและสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกที่ถูกเวลา เพื่อปลูกฝักจิตใต้สำนึกให้กับนึกศึกษา เพราะว่าการที่เราเรียนครูเราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทุกคน เวลาเราจะทำอะไรเราต้องคิดก่อนทำ อาจารย์ได้พูดสอนหลายๆเรื่องเพราะอยากให้ลูกศิษย์เป็นคนดีของสังคม หลังจากที่พูดคุยเสร็จแล้วอาจารย์ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ Mind Map หลังจากที่อาจารย์ให้ไปเพิ่มเติมแก้ไขต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
นี้คือหน่วย ไข่ กลุ่มของเราเองคะ


การนำเสนอ Mind Map ของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 หน่วย ต้นไม้ 


กลุ่มที่ 2 หน่วย ผลไม้
กลุ่มที่ 3 หน่วย ปลา 
กลุ่มที่ 4 หน่วย ยานพาหนะ
 กลุ่มที่ 5 หน่วย ไข่
 กลุ่มที่ 6 หน่วย อากาศรอบตัวฉัน
กลุ่มที่ 7 หน่วย ดอกไม้

               หลังจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ  Mind Map ครบกันหมดทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาดูหน่วยที่นักศึกษาทำว่าหน่วยของเรานั้นไปเชื่อมโยงกับ 8 กลุ่มสาระไหม มีอะไรที่เชื่อมโยงกับ 8 กลุ่มสาระมั้ง เพื่อให้นักศึกษาคิดกิจกรรมการสอนมา 5 วัน
 มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยาการธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยื่น

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนียวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปกิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่บสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล้กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนทีแบบต่างๆ ของวัสดุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอาวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยี อวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีศีลธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี
มาตรฐาน 8.1 ใช้กระบสนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฎการทางธรรมชาติที่เกี่ยวขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงนั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ทักษะ ( SKILL)
1.ทักษะการเชื่อมโยง
2.ได้ทักษะการฟัง การคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการมีความคิดสร้างสรรค์
5.ทักษะการสื่อและเทคโนโลยี

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้อย่างเหมาะสมโดยกิจกรรมนั้นจะต้องเชื่อมโยงกับ 8 กลุ่มสาระ เพื่อกิจกรรมที่เราจัดให้เด็กจะได้สมบูรณ์และเป็นการสอนเด็กให้ได้เรียนรู้ในหลายๆเรื่องในกิจกรรมที่เราจะจัดให้เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายๆเรื่องในกิจกรรมเดียว และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบคิดกิจกรรมเพื่อที่จะเอาไปจัดสอนเด็กได้ตรงกับช่วงวัยและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เหมาะสม

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักาาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การให้นักศึกษาได้คิดกิจกรรมการสอนเองอย่างอิสระ
3.การทบทวนเนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อทวนความจำนักศึกษาหลังจากที่เรียนไปแล้ว

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์   VOCABULARY 

1.CONNECTION = การเชื่อมโยง
2.REVIEW = ทบทวน
3.MOVEMENT = การเคลื่อนที่
4.SUBSTANCE = สาร
5.ENERGY = พลังงาน


วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559


RECORD 11

TUESDAY  18  OCTOBER 2559

เนื้อหาการเรียน (KNOWLEDGE)
  
            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้เอาของเล่นงานกลุ่มมาส่งให้เอามาส่งหลังจากที่อาจารย์ให้กลับไปแก้ไข้เพื่ออาจารย์จะได้อธิบายเพิ่มเติมให้เพื่อนๆในห้องฟัง ว่าของเล่นที่เพื่อนเอามาส่งวันนี้มีประโยชน์ต่อการเล่นยังไง 
ของเล่นชิ้นที่ 1 รางลูกกลิ้ง
            อาจารย์เลยยกตัวอย่างรางลูกกลิ้ง ว่าถ้าเราอยากให้เด็กได้ได้มีส่วนร่วมในการเล่นนั้นเราต้อง ปล่อยให้เด็กได้เล่นต่อรางเองว่าเด็กจะเอาวางไว้ตรงไหนเพื่อให้ลุกแก้วไหล 



ของเล่นชิ้นที่ 2  ถุงลม 
               ของเล่นชิ้นนี้ไม่เหมาะกับการเอาไปวางไว้เล่นตามมุม เพราะเป็นการเป่า แต่เหมาะกับการเอาไปจักกิจกรรมการสอนให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้ทำของเล่นเล่นเอง เพราะของเล่นชิ้นนี้เหมาะเป็นของเล่นส่วนตัวของเด็ก



ของเล่นชิ้นที่ 3
                ถาดลูกกลิ้งคล้ายๆกับรางลูกกลิ้ง แต่ถาดลูกกลิ้งเด็กจะสามารถเล่นได้เอง โดยการเอียงถาดเอง แต่รางลูกกลิ้งเด็กจะไม่สามารถเล่นเองได้ แต้เด็กจะเล่นตามที่ครูทำให้เล่น



             หลังจากที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับของเล่นครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 5 คน เพื่อให้เราเลือกกลุ่มสาระเพื่อที่จะเอามา My maps 

สาระที่ควรเรียนรู้

1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตาของตนเอง รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด เป็นต้น
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม เรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆที่เด็กเกี่ยวข้อง เป็นต้น 
3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรรู้จักต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆ เป็นต้น
อาจารย์ให้เลือกสาระไหนก็ได้ แล้วก็เลือกหน่วยว่าเราจะทำหน่วยอะไร เพื่อที่จะเอามาใช้สอนเด็กได้ครบทั้ง 5 วัน

กลุ่มของดิฉันเลือกหน่วย  ไข่ 
1.ลักษณะ
       2.ส่วนประกอบ
              3.การเปลี่ยนแปลง
  4.ประโยชน์
   5.ข้ิควรระวัง


             หลังจากที่แต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม เอาแผ่นกระดาษ My maps ของกลุ่มตนเองไปติดไว้หน้ากระดาษห้องเรียน เพื่อที่อาจารย์จะดูรายละเอียดและเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ดีขึ้น  เพื่อที่จะได้เอากลับไปทำมาส่งใหม่อาทิตย์หน้า
กลุ่ม 1
หน่วย ยานพาหนะ

กลุ่ม 2
หน่วย ต้นไม้

กลุ่ม 2
หน่วย ผลไม้

กลุ่ม 4
หน่วย ปลา

กลุ่ม 5
หน่วย ไข่

กลุ่ม 6
หน่วย ดอกไม้

กลุ่ม 7
หน่วย อากาศรอบตัวฉัน


ทักษะ ( SKILL)

1.ทักษะการออกแบบการเขียน My maps
2.ได้ทักษะการฟัง การคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการมีความคิดสร้างสรรค์
5.ทักษะการสื่อและเทคโนโลยี
6.ทักษะการสังเกต 

การนำเอาไปประยุกต์ใช้  (ADOPTION)

         สามารถประดิษฐิ์สื่อทางวิทยาศาสตร์ได้เองและเอาไปใช้สอนกับเด็กได้จริงในอนาคตและสามารถออกแบบกิจกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์ได้ เอามาปรับใช้หรือทำสื่อวิทยาศาตร์ ได้ด้วยตนเองหลังจากที่ศึกษา สามารถออกแบบกิจกรรมเพื่อที่จะเอาไปจัดสอนเด็กได้ตรงกับวัยและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การปล่อยให้นักศึกษาศึกษาได้เลือกทำสื่อเองตามความอิสระ
3.ให้นักศึกษาได้สังเกตุ ทดลองสิ่งใหม่ๆ
4.ทบทวนการเรียนให้นักศึกษาตลอดเพื่อที่จะได้ไม่ลืมหลังจากเรียนเสร็จแล้ว

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง


       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์


       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์   VOCABULARY 

1.BLOW = การเป่า
2.ROIIING = การกลิ้ง
3.DESIGN = ออกแบบ
4.WRITING = การเขียน
5.PORTFOLIO = ผลงาน


วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559


RECORD 10

TUESDAY  11  OCTOBER 2559

เนื้อหาการเรียน (KNOWLEDGE)

          วันนี้อาจารย์ให้เอางานของเล่นงานกลุ่มมาส่งหลังจากที่อาจารย์ให้กลับไปแก้ไข้ หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษเอ 4 ให้นักศึกษาคนล่ะ 1 แผ่น เพื่อให้นักศึกเขียนขั้นตอนการทำของเล่นงานเดียวใส่เอ 4 เพื่อที่เอาไปแปะเรียงไว้หน้ากระดานให้เรียบร้อย



             นี้คือการเขียนของขั้นตอนการทำของเล่นของดิฉัน โดยอาจารย์ให้เขียนแบบเข้าใจง่ายและเป็นขั้นตอน โดยอาจารย์็ให้นักศึกษาสังเกตุว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากที่เราได้พิมพ์ขั้นตอนการทำพร้อมรูปภาพประกอบให้อาจารย์ไปแล้ว อาจารย์ให้สังเกตุว่าอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง กรอบมีกรอบคลุมข้อความและลูกศรเข้ามาประกอบเพื่อให้เรามองไปแล้วเข้าใจมากขึ้น



             หลังจากที่นักศึกษาทุกคนเขียนขั้นตอนของตัวเองครบหมดทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน กลุ่มละ 8 คนต่อกลุ่ม และให้เลือกของเล่นเพื่อนในกลุ่มที่ดีที่สุกมา 1 ชนิด แล้วก็ให้เพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันระดมความคิด เพื่อที่เราจะได้ทำแผนการสอนไปสอนกับเด็กปฐมวัยจริง โดยอาจารย์จะให้แต่ละกลุ่มถ่ายวีดีโอการแนะนำอุปกรณ์การทำของเล่นของกลุ่มเรา และขั้นตอนการทำของเล่นลงในยูทูป โดยให้แบ่งหน้าที่กันว่าแต่ละคน ใครจะเป็นคนทำอะไรบ้าง หลังจากที่ช่วยกันระดมความคิดเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ เพราะอาจารย์จะได้ช่วยแนะนำเพิ่มเติมให้นักศึกษา


              กลุ่มเราได้ตกลงพูดคุยกันแล้วกลุ่มเราเลือกทำ ที่ยิงบอลจากไม้ไอติม เพราะขั้นตอนการทำง่ายไม่สับซ้อน และหาวัสดุจากของเหลือใช้ได้ง่ายไม่สิ้นเปลือก กลุ่มเราจึงตัดสินใจทำของเล่นชิ้นนี้เพื่อเอาไปสอนเด็กทำได้จริง 


ภาพการนำเสนอของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
  กลุ่มที่ 1 ที่ยิงบอลจากไม้ไอติม


นี้คือกลุ่มของดิฉันคะ กลุ่มของเราได้เลือกทำของเล่น ที่ยิงบอลจากไม้ไอติม

กลุ่มที่ 2 เคลื่องเป่าลม 


กลุ่มที่ 3 รถพลังงานลม


กลุ่มที่ 4 ขวดน้ำนักขนของ



ทักษะ ( SKILL)

1.ได้ทักษะการออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์
2.ได้ทักษะการคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการมีความคิดสร้างสรรค์
5.ทักษะการสื่อและเทคโนดลยี
6.ทักษะการลงมือประดิษฐ์ของเล่นเอง
7.ทักษะการสังเกต การทดลอง

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถประดิษฐิ์สื่อทางวิทยาศาสตร์ได้เองและเอาไปใช้สอนกับเด็กได้จริงในอนาคตและสามารถออกแบบกิจกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์ได้ เอามาปรับใช้หรือทำสื่อวิทยาศาตร์ ได้ด้วยตนเองหลังจากที่ศึกษาหรือดูของเล่นและการทดลองต่างๆที่อาจารย์ให้ทำ

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักาาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การปล่อยให้นักศึกษาศึกษาได้เลือกสื่อเองตามความอิสระ
3.ให้นักศึกษาได้สังเกตุ ทดลองสิ่งใหม่ๆ

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์   VOCABULARY 

1.BUOYANCY = การลอย
2.STEP = ขั้นตอน
3.THINKING = คิดวิเคาระห์
4.PLANNING = วางแผน
5.BRAINSTORM = ระดมความคิด