วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559




RECORD 16

TUESDAY  22  NOVEMBER  2559

เนื้อหาการเรียน (KNOWLEDGE)

             วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการพูดคุยกันก่อน หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันบอกขั้นสอนการสอนของกลุ่มตัวเอง ว่าเริ่มแรกเราจะสอนเด็กแบบไหนก่อน กลุ่มของพวกเราทำ คานยิงจากไม้ไอติม
ขั้นตอนการสอน
 1.แนะนำอุปกรณ์ให้แก่เด็ก เพื่อให้เด็กทายว่าวันนี้เราจะมาทำกิจกรรมอะไร
2.อ่านขั้นตอนการทำหรือประดิษฐ์ให้เด็กฟัง
3.ทบทวนว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างอีกรอบ
4.ทบทวนว่ามีขั้นตอนการทำอะไรบ้างอีกรอบ
5.สาธิตขั้นตอนการทำให้เด็กดู
6.ให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์โดยแบ่งกลุ่มแล้วให้หัวหน้ากลุ่มเป็นคนออกมาหยิบเพื่อที่จะไม่ให้วุ่นวาย
7.ให้เด็กลงมือทำหรือปฏิบัติ
8.ทำเสร็จแล้วให้เด็กๆเก็บอุปกรณ์ของตนเองให้เรียบร้อย
9.ตั้งสมมติฐานว่าถ้าเราทำแบบนี้มันจะเกิดอะไรขึ้น
10.จากนั้นก็ัให้เด็กๆตั้งเกณฑ์ว่าใครจะทำได้ตามเกณฑ์ที่ตนเองกำหนด 
11.สรุปผล



             หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มของตัวเองและให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดว่าของเล่นที่กลุ่มของตัวเองทำนั้นสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตจริงได้ในเรื่ิงใดบ้าง 





สุดท้ายของวันนี้อาจารย์ก็ได้พูดคุยกับนักศึกและให้พรนักศึกษาในการสอบปลายภาค 


ทักษะ ( SKILL)

1.ทักษะการเขียนแผน
2.ได้ทักษะการฟัง การคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการสื่อและเทคโนโลยี

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถออกแบบกิจกรรมการสอน 5 วัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เอามาเขียนแผนให้เหมาะกับวัยของเด็กและเหมาะกับพัฒนาการของเด็ก และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบคิดกิจกรรมเพื่อที่จะเอาไปจัดสอนเด็กได้ตรงกับช่วงวัยและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เหมาะสม

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักษาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การให้นักศึกษาได้เสนอข้อคิดเห็น
3.การทบทวนเนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อทวนความจำนักศึกษาหลังจากที่เรียนไปแล้ว
4.การให้นักศึกษาได้ถามในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจเพื่อที่อาจารย์จะได้กลับมาอธิบายใหม่ให้เข้าใจ
5.คอยชี้แนะแนวทางความรู้ใหม่ๆให้นักศึกษาได้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้มาก่อน

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

           แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

            เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

             อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง 

คำศัพย์ 
VOCABULARY 

1.GUIDELINES = แนวทาง
2.DESCRIBE = บรรยาย
3.REVIEW = ทบทวน
4.TECHNOLOGY =  เทคโนโลยี
5.STEP = ขั้นตอน

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


RECORD 15

TUESDAY  15  NOVEMBER  2559

เนื้อหาการเรียน (KNOWLEDGE)

             วันนี้เป็นการสอนจากแผนที่แต่ละกลุ่มได้เขียนไว้และสอนตามวันที่ตนได้ หลังจากที่ได้แผนการสอนในอาทิตย์ที่แล้ว วันนี้จะเป็นการสอนตามแผนที่แต่ละกลุ่มเขียนไว้ โดย สอนตามวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ พฤหัสบดี และวันศุกร์ จนครบทุกกลุ่มการสอนครั้งนี้อาจารย์จะดูแต่ละกลุ่มว่ามีความเตรียมพร้อมมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าเราไปออกสอนเด็กจริงเราจะเก็บเด็กอยู่ไหม หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานั่งเป็นรูปตัวยูเพื่อดูเพื่อนแต่ละกลุ่มออกไปหสอนหน้าชั้นเรียน





ภาพการสอนของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 หน่วยผลไม้ (วันจันทร์)
                การสอนของกลุ่มวันจันทร์เริ่มต้นการสอนด้วยการพาเด็กๆอ่านคำคล้องจอง หลังจากนั้นก็ถามเด็กว่าในคำคล้องจองเด็กเห็นชื่อผลไม้อะไรบ้าง แล้วให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในคำคล้องจอง หลังจากก็นำตะกร้าผลไม้ออกมาให้เด็กๆบอกชื่อว่าในตะกน้ามีผลไม้อะไรบ้าง ผลไม่แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ผลรวมกับผลเดี่ยว หลังจากที่เอาผลไม้ของจริงให้เด็กๆดูเสร็จแล้วก็ให้เด็กตอบว่าในตะกน้ามีผลรวมกี่ชนิด ผลเดี่ยวกี่ชนิด แล้วก็ให้เด็กๆช่วยกันนับผลไม้ โดยการนับจะหยิบผลไม้ออกจากกลุ่ม 1 ต่อ 1 ผลไม้ชนิดไหนที่เหลือมากกว่าแสดงว่าผลไม่ชนืดนั้นมากกว่า





กลุ่มที่ 2 หน่วยไข่ (วันอังคาร)
              ขั้นแรกของกิจกรรมนี้คือ ให้เด็กๆช่วยกันต่อจิกซอว์รูปไข่ โดยเราจะไม่ได้แจกจิกซอว์ให้เด็กๆทุกคน เราจะให้เด็กๆหลับตาแล้วก็จะเลือกแจกให้กับเด็กที่นั่งเรียบร้อยที่สุดคนละ 1 ชิ้น เพื่อให้เด็กๆที่ได้จิ๊กซอว์ออกมาต่อจิ็กซอหน้ากระดาน หลังจากนั้นคุณครูก็เอาไข่เป็ และไข่ไก่ของจริงมาให้เด็กๆได้สังเกตุ ว่าไข่เป็น และไข่ไก่มีความเหมือนและแตกต่างกันอะไรบ้าง สิ่งที่ให้เด็กๆได้สังเกตุกันมีดังนี้ สี ขนาด กลิ่น รูปทรง  ส่วนประกอบ หลังจากที่ให้เด็กสังเกตุคุณครูก็จะเป็นคนเขียนบันทึกลงในตารางวิเคราะห์ เพื่อที่จะดูความเหมือนและความต่างระหว่างไข่เป็นกับไข่ไก่





กลุ่มที่ 3  หน่วยต้นไม้ (วันพุธ)
              ขั้นแรกของกิจกรรมนี้คือ การนำเด็กๆร้องเพลงการดูแลต้นไม้ หลังจากนั้นก็ถามเด็กๆว่าเราจะมีการดูแลต้นไม้ของเราโดยการทำอย่างไร หลังจากนั้นคุณครูก็เอาวิธีการดูแลต้นไม้มาสอนเด็กๆโดยการปลูกถั่วงอก เพื่อที่จะให้เด็กรู้จักวิธีการดูแลต้นไม้โดยการสังเกตการเจริญเติบโตของถั่วงอกและดูการเปลี่ยนแปลงว่าถั่วงอกมีความเปลี่ยนแปลงแบบไหนในแต่ละวัน




กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา (วันพฤหัสบดี)
                ขั้นแรกของการสอนกลุ่มนี้คือ การพาเด็กๆอ่านวิธีการทำ cooking ชุบแป้งทอด และสาธิตวิธีการทำ cooking ชุบแป้งทอด ให้เด็กๆดูเป็นตัวอย่าง หลังจากนั้นก็จัดฐานให้เด็กๆ 4 ฐาน คือ 
ฐานที่ 1 ตัดกระดาษใหเป็นรูปวงกลมตามแบบที่คุณครูวาดไว้ให้เพื่อที่จะเป็นกระดาษลองปลาเวลาทอดเสร็จ
ฐานที่ 2 หั้นปลาออกเป็น 2 ชิ้น
ฐานที่ 3 นำปลาที่หั่นแล้ว เอาไปชุบกับแป้งให้ทั่วๆปลา
ฐานที่ 4 นำปลาที่ชุบแป้งแล้วเอาไปใส่รวมในถ้วยใหญ่ที่ครูเตรียมไว้ เพื่อที่จะเอารปลาลงไปทอดในกระทะ ในระหว่างที่คุณครูทอดปลา คุณครูก็จะให้เด็กๆช่วยกันสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีปลา













ทักษะ ( SKILL)

1.ทักษะการเขียนแผน
2.ได้ทักษะการฟัง การคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการสื่อและเทคโนโลยี
5.การทำงานร่วมกับเพื่อน

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถออกแบบกิจกรรมการสอน 5 วัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เอามาเขียนแผนให้เหมาะกับวัยของเด็กและเหมาะกับพัฒนาการของเด็ก และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบคิดกิจกรรมเพื่อที่จะเอาไปจัดสอนเด็กได้ตรงกับช่วงวัยและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เหมาะสม

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักษาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การให้คำแนะนำนักศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจขึ้น
3.การปล่อยให้นักศึกษาได้คิดอย่างอิสระ



ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์ 
VOCABULARY 

1.LISTENING = การฟัง
2.FREE THINKING = ความคิดอิสระ
3.BREADED = ชุบแป้ง
4.INGREDIENT = ส่วนปนะกอบ
5.RHYMES = คำคล้องจอง

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



RECORD 14

TUESDAY  8  NOVEMBER  2559

เนื้อหาการเรียน (KNOWLEDGE)

            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาเปิดวีดีโอการทำของเล่นให้เพื่อนๆดู หลังจากที่อาจารย์ได้แนะนำให้ไปแก้ไขแล้ว



วีดีโอที่ได้แก้ไขแล้ว

ขวดน้ำนักขนของ


คานดีดจากไม่ไอติม


              หลังจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มเปิดวีดีโอนำเสนอเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็แนะนำเพิ่มเติมให้เป็นบางกลุ่มให้ไปเพิ่มให้สมบูณร์กว่านี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองและคนที่จะเข้ามาดู กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยของตัวเองเพื่อที่จะเขียนแผนการสอนแต่ละวัน โดยอาจารย์จะถามแผนของนักศึกษาไล่ตามวันคือ วันจันทร์ อังคาร พูธ พฤหัสบดี และศุกร์ ไล่ไปตามวันเรื่อยๆว่าใครรับผิดชอบการสอนวันไหนบ้าง โดยไล่จากวันทร์ อาจารย์ถามนักศึกษาแต่ละกลุ่มว่าวันจันทร์สอนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เพื่ออาจารย์จะได้แนะนำการเขียนแผน 


  


           หลังจากที่อาจารย์ได้พูดเพิ่มเติมการเขียนแผนให้นักศึกษาแต่ละวันครบหมดทุกคนแล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษการแผนให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนของตัวเองลงไป




               แผนการสอนของกลุ่มเรา กลุ่มเราทำเรื่อง หน่วย ไข่ มาดูแผนการสอนของกลุ่มเราเลยไล่ไปตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ นะคะ

แผนการสอนแต่ละวันของ กลุ่มหน่วย ไข่

แผนการสอนหน่วยไข่ วันจันทร์ เรื่อง ชนิด/ประเภท วัตถุประสงค์ 1. เด็กบอกชื่อไข่ได้อย่างน้อย 5 ชนิด 2. เด็กสามารถจัดประเภทของไข่ได้ 3. เด็กนับจำนวนไข่ได้โดยใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับ 4. เด็กสามารถตอบคำถามได้ สาระที่ควรเรียนรู้ ไข่มีหลายชนิด ไข่เเต่ละชนิดมีช่อเรียกเเตกต่างกัน เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ห่าน สามารถจัดเเบ่ง ออกได้เป็น 2 ประเภท ประสบการณ์สำคัญ ด้านสติปัญญา - การรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและกลิ่น - การพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง - การสำรวจอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆ - การจับคู่ การจำเเนก การจัดกลุ่ม - การเปรียบเทียบ - การคาดคะเนสิ่งต่างๆ - การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน - การนับสิ่งต่าง - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ 1. เด็กและครูอ่านคำคล้องจองไข่ร่วมกัน "ไข่ไข่ไข่ ไข่มีหลายชนิด ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ห่าน มาสิมาทานกันเถอะเด็กดี" 2. ถามเด็กว่าในคำคล้องนี้เด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง แล้วบันทึก จากนั้นถามเด็กอีกว่านอกจากในคำคล้องจองนี้เด็กๆรู้จักไข่อะไรอีกบ้าง ขั้นสอน 3. นำไข่เป็ดและไข่ไก่ใส่แฝงไข่คลุมผ้าไว้ แล้วถามเด็กๆว่าในผ้านี้มีอะไร เมื่อเด็กตอบถามเด็กอีกว่ามีไข่อะไรบ้าง และเด็กๆคิดว่ามีไข่กี่ฟอง เสร็จแล้วนำออกมานับพร้อมใส่ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับ 4. หยิบไข่ออกมาทีละฟอง นำมาจัดกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ไข่ไก่ มีสีเหลืองออกน้ำตาล นี่คือไข่ไก่ แล้วให้เด็กๆออกมาสังเกตดูว่าไข่ใบไหนที่เป็นไข่ไก่อีก ให้เด็กจับไข่ไก่เเยกออกมาจนหมด และที่เหลือไม่ใช่ไข่ไก่ เราเรียกมันว่าไข่เป็ด 5. นับดูว่าไข่กลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากัน นับ 1 ต่อ 1 ขั้นสรุป 6. ถามเด็กว่าวันนี้เด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง สื่อ/แหล่งเรียนรู้ - แผ่นชาร์ตคำคล้องจองไข่ - แผ่นชาร์ตบันทึกชื่อไข่ที่เด็กรู้จัก - ไข่เป็ด ไข่ไก่ - แฝงไข่ - ตัวเลขฮินดูอารบิค การวัดเเละประเมินผล 1. จากการสนทนาถามเด็ก 2. จากการสังเกตกระบวนการขณะเด็กทำกิจกรรมจัดประเภทไข่ 3. จากการสังเกตกระบวนการขณะเด็กนับจำนวนและใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับ 4. จากการสนทนาถามเด็ก การบูรณาการ คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์

    

แผนการสอน หน่วยไข่ (วันอังคาร) เรื่อง ลักษณะของไข่ วัตถุประสงค์ 1. เด็กอธิบายลักษณะที่เหมือนและต่างกันของไข่ได้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และกลิ่น 2. เด็กวิเคราะห์ลักษณะของไข่ได้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์ 3. เด็กเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของไข่ได้ โดยใช้ไดอะแกรม 4. เด็กบอกจำนวนของไข่ได้ สาระที่ควรรู้ ไข่มีลักษณะที่แตกต่างกัน สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ และกลิ่น เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ประสบการณ์สำคัญ - การวิเคราะห์ - การเปรียบเทียบ - การนับและบอกจำนวนเชื่อมโยงกับตัวเลข กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ 1. ให้เด็กๆ ช่วยกันต่อจิ๊กซอว์รูปไข่ ขั้นสอน 2. ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่ไก่ สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์ 3. ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่เป็ด สี ขนาด รูปทรง ส่วนแระกอบ กลิ่น และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์ ขั้นสรุป 4. คุณครูและเด็กช่วยกันสรุปลักษณะของไข่ไก่และไข่เป็ด สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 1. จิ๊กซอว์รูปไข่ 2. ไข่ไก่ 3. ไข่เป็ด 4. ถ้วยใส่ไข่ 5. แผ่นชาร์ตตารางวิเคราะห์ 6. แผ่นชาร์ตไดอะแกรม 7. ปากกา 8. ไม้ชี้ การวัดเเละประเมินผล 1. สังเกตจากการอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟอง 2. สังเกตจากการฟังและตอบคำถามของครู 3. จากการสังเกตการเปรียบเทียบลักษณะของไข่ 4. จากการสังเกตที่เด็กนับและใช้ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับ การบูรณาการ - ภาษา - วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์

แผนการสอน หน่วย ไข่ วันพุธ การเปลี่ยนแปลง เรื่อง การถนอมไข่ วัตถุประสงค์ 1.เด็กสามารถสังเกตไข่สดและไข่ที่เป็นไข่เค็มได้ 2.เด็กสามารถบอกวิธีในการทำไข่เค็มได้ 3.เด็กสามารถตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองและแสดงความคิดเห็นได้ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ การถนอมอาหารจากไข่ โดยการทำไข่เค็ม ประสบการณ์สำคัญ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของไข่ การสื่อความหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ 1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงไข่ ขั้นสอน 2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาพูดคุย ถึงวิธีในการถนอมอาหารจากไข่ โดยใช้คำถามว่า เด็กๆคิดว่าการถนอมไข่สามสารถทำอะไรได้บ้าง นอกจากการทำไข่เค็ม 3.ครูนำอุปกรณ์ในการทำไข่เค็มมาให้ดูแล้วให้เด็กๆทายว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง วันนี้เราจะมาทำกิจกรรมอะไรกัน หลังจากนั้นครูก็สาธิตวิธีในการทำไข่เค็มให้เด็กๆดูเป็นตัวอย่าง 4.เด็กๆลงมือปฏิบัติทำกิจกรรม ขั้นสรุป 5.เด็กและครูพูดคุยสนทนากันหลังจากที่เด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้ว 6.เด็กๆทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็กของให้เข้าที่ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ 1.แผ่นชาร์จเพลงไข่ 2.ไข่เป็ด 3.น้ำเกลือ 4.ขวดโหล 5.หม้อ/กระทะ การวัดและการประเมินผล 1.จากการสังเกตเด็กสามารถแยกระหว่างไข่สดกับไข่เค็มได้ 2.จากการสังเกตเด็กสามารถเข้าใจและบอกขั้นตอนการทำไข่เค็มได้ 3.จากการสังเกตเด็กสามารถตอบและแสดงความคิดเห็นได้ การบูรณาการ 1.วิทยาศาสตร์ 2.คณิตศาสตร์ 3.การคิด/การสังเกต 4.ภาษา
แผนการสอน หน่วยไข่ วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโชยน์ของไข่ วัตถุประสงค์ 1.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้ 2.เด็กสามารถจัดหมวดหมู่ของไข่แต่ละประเภทได้ 3.เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ ประโยชน์ของไข่ ประสบการณ์สำคัญ (ด้านสติปัญญา) การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ 1.ครูพาเด็กๆพูดคุยสนาทนาเรื่องไข่และถามตอบรวมถึงบอกประโยชน์และข้อควรระวังด้วย "เด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้างเอ่ย " "เด็กๆคนไหนชอบกินไข่บ้าง ยกมือขึ้นให้คุณครูดูหน่อย" "แล้วเด็กๆรู้หรือเปล่าว่าไข่มีประโยชน์อะไรบ้าง "และนอกจากไข่จะมีประโยชน์แล้วไข่ก็มีข้อควรระวังด้วยนะ" ขั้นสอน 2.ครูเล่านิทานเรื่อง"ไข่"ให้เด็กฟัง 3.เมื่อเด็กฟังนิทานจบ ครูถามเด็กว่าในนิทานเรื่อง "ไข่" ครูพูดถึงไข่อะไรบ้าง มีกี่ประเภท ขั้นสรุป 4.ครูและเด็กสนาทนาด้วยกันหลังฟังนิทานจบ อาจมีถามตอบอีกครั้ง สื่อ/แหล่งเรียนรู้ -นิทานเรื่องไข่ การวัดและประเมินผล 1.จากการสังเกตเด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้ 2.จากการสังเกตเด็กสามารถจัดหมวดหมู่ไข่แต่ละประเภทได้ 3.จากการสังเกตเด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้ บูรณาการ -วิทยาศาสตร์ -คณิตศาสตร์ -ภาษา
แผนการสอนวันศุกร์
( คุกกิ้งไข่พระอาทิตย์) วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ข้อควรระวังของไข่ 2.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คุณค่าของไข่ 3.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การทำอาหารเมนูไข่ สาระการเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ การทำอาหารจากไข่เมนูไข่พระอาทิตย์ ประสบการณ์สำคัญ ด้านสติปัญญา - สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องไข่จากการลงมือทำอาหาร ทำให้เด็กได้เห็นคุณค่าของไข่ กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ 1. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์และข้อควรระวังของไข่ ขั้นสอน 2. ครูให้เด็กสังเกตอุปกรณ์และถามเด็กว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆฟัง 3. ครูและเด็กร่วมกันทำอาหารเมนูไข่พระอาทิตย์โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมวัตถุดิบและการทำอาหาร ขั้นสรุป 4. ครูและเด็กร่วมกันรับประทานอาหารเมนูไข่พระอาทิตย์ 5. ล้างมือให้สะอาด 6. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเมนูไข่พระอาทิตย์และให้เด็กนำเสนอว่าตนเองนั้นได้ช่วยทำอะไรบ้าง สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ข้าวสวย ไข่ไก่ ซอสปรุงรส น้ำมัน กะทะ ตะหลิว แครอท
การวัดและการประเมิน
1.จาการสังเกตเด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
2.จากสังเกตเด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
3.จากการสังเกตเด็กสามารถช่วยครูทำอาหารได้
การบูรณาการ
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์
ศิลปะ

ทักษะ ( SKILL)
1.ทักษะการเขียนแผน
2.ได้ทักษะการฟัง การคิด
3.ทักษะการนำเสนอผลงาน
4.ทักษะการสื่อและเทคโนโลยี

การนำเอาไปประยุกต์ใช้ (ADOPTION)

         สามารถออกแบบกิจกรรมการสอน 5 วัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เอามาเขียนแผนให้เหมาะกับวัยของเด็กและเหมาะกับพัฒนาการของเด็ก และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบคิดกิจกรรมเพื่อที่จะเอาไปจัดสอนเด็กได้ตรงกับช่วงวัยและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เหมาะสม

เทคนิกการสอน (TECHNIQUE TEATHING)

1.การอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักษาฟังโดยมีหลักการที่อธิบายเข้าใจง่ายๆ
2.การให้นักศึกษาได้คิดกิจกรรมการสอนเองอย่างอิสระ
3.การทบทวนเนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อทวนความจำนักศึกษาหลังจากที่เรียนไปแล้ว

ประเมินผล (ASSESSMENT)

ประเมินตนเอง

       แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่  ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ไม่พูดคุยกับเพื่อนเสียงดัง

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยเสียงดังขณะเรียนหนังสือ

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มาตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีกิจกรรมแปลกใหม่มาสอนนักศึกษาเสมอ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำศัพย์ 
VOCABULARY 

1.EGG SUN =ไข่พระอาทิตย์
2.PRESERVING EGGS = การถนอมไข่
3.STEP = ขั้นตอน
4.PLAN = แผน
5.SUGGESTION = การแนะนำ