วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

 
Record 3
  Tuesday  23 August 2559

บรรยากาศในห้องเรียน 

        วันนี้อากาศดีมากท้องฟ้าปลอดโปร่ง ในห้องเรียนสะอาดแอร์เย็นสบาย แต่วันนี้อาจารย์ติดประชุมด่วนเลยไม่ได้เข้ามาสอนนักศึกษา ถึงแม้อาจารย์จะไม่ได้เข้ารมาสอนวันนี้แต่อาจารย์ก็ได้สั่งงานและมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ทำกันอยู่ในห้องเรียน ใครทำเสร็จแล้วก็เอารวบรวมงานเพื่อจะเอาไปส่งอาจารย์ท้ายคาบเรียนอ อาจารย์จะมีชีดงานเพื่อให้นักศึกษาทุกคนเอามาสรุปตามความเข้าใจของตนเอง


 รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กอายุ 3 ปี
-วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
-รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
-ใช้กรรไกรมือเดียวได้
-วาดและระบายสีอิสระได้
พัมนาการด้านอารมณ-จิตใจ เด็กอายุ 3 ปี
-แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำติชม
-กลัวการพลัดพราดจากผู้เลี้ยงดูผู้ใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม เด็กอายุ3 ปี
-รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
-เล่นสมมติได้
-รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กอายุ3 ปี
-สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือที่มีปัญหา
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กอายุ 4 ปี
-กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
-กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
พัมนาการด้านอารมณ-จิตใจ เด็กอายุ 4 ปี
-แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-ชอบท้าทายผู้ใหญ่
-ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม เด็กอายุ4 ปี
-แต่งตัวได้ด้วยตนเองไปห้องส้วมได้เอง
-แบ่งของให้คนอื่น
-เก็บของเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กอายุ4 ปี
จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับการชี้แนะ
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กอายุ 5 ปี
-กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนดได้
-ยืดตัว คล่องแคล่ว
พัมนาการด้านอารมณ-จิตใจ เด็กอายุ 5 ปี
-แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม เด็กอายุ5 ปี 
-ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมผู้อื่นได้
-รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 
พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กอายุ5 ปี
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม 
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี  


ทฤษฎีการเรียนรู้
การทดลองของพาฟลอฟ


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การทดลองของวัตสัน





การนำความรู้จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาดสิคไปใช้ในการเรียนการสอน
-ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี
-สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียนและให้ความอบอุ่นกับผู้เรียน
-ครูจัดสิ่งแวดล้อมในสถานการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนรักสถานศึกษา
ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
-ทฤษฎีลองผิดลองถูก
-การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
-การทดลองของธอร์นไดค์
การนำความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องหรือเชื่อมโยงไปใช้ในการเรียนการสอน
-ก่อนที่จะดำเนินการสอน ครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเสียก่อน
-ควรมอบหมายงาน แบบฝึกหัด หรือการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดกระทำเพื่อให้บรรลุตามหลักสูตร
-ใช้หลักการให้รางวัลและลงโทษ เพื่อให้ผู้เรียน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์
-ความรู้ถูกสร้างหล่อหลอมโดยประสบการณ์
-ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
-ผู้เรียนอยู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
-ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกกรมเอง
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์
-ความต่อเนื่อง
-การจัดช่วงลำดับ
-บูรณาการ
หลักการแนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
ฟรอยด์ เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
อิริคสัน เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
เพียเจต์ เชื่อว่า พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ดิวอี้ เชื่อว่า เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำ
สกินเนอร์ เชื่อว่า ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กสนใจที่จะทำต่อไป
เปสตาลอสซี่ เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
เฟรอเบล เชื่อว่า ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกรตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
เอลคายน์ เชื่อว่า การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก


 สรุปหลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน

ทักษะที่ได้ (skill)

1.ทักษะการสรุปองค์ความรู้
2.การใช้เทคโนโลยี
3.ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล

 เทคนิคการสอน (Technique teaching)

      อาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาสรุปงานและค้นความหาความรู้ด้วยตัวเอง ทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์เอามาให้

 การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)

          การนำรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์มาใช้ได้จริง สามารถเอาไปทดลองสอนกับเด็กได้ในอนาคต การที่เราจะจัดกิจกรรมใก้เด็กเราต้องดูความเกมาะสมตามช่างวัยและพัฒนาการของเด็กเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามพัฒนาการของตนเอง

ผลการประเมิน (Assessment)

ประเมินตนเอง 


           ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย


ประเมินเพื่อน 


เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  


           อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559



Record 2
Tuesday  16 August 2559

บรรยากาศในห้องเรียน 
     วันนี้เป็นการเรียนเข้าสู้เนื้อหา ของรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย บรรยากาศภายในห้องเรียนรู้สึกครึกครื้นมาก  อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาการเรียน หลังจากที่อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาเสร็จแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนล่ะ 1 แผ่น เพื่อที่จะให้ทำ Mind map ในหัวข้อ  
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   

 ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

          เนื้อหาเกี่ยวกับรายวิชาจะมี คำสำคัญๆ อยู่ 3 คำ คือ การจัดประสบการณ์  วิทยาศาสตร์ และ เด็กปฐมวัย ซึ่ง 3 คำนี้ จะบ่งบอกเลยว่า วิทยาศาสตร์ ที่เราหมายถึง คือวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กในวัยอนุบาล ซึ่งจะมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างไปกับการจัดการเรียนรู้ทางวิทยา ศาสตร์แบบเด็กประถมหรือมัธยม
ซึ่งเครื่องมือการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของเด็กในวันอนุบาล ได้แก่ ภาษา เเละ คณิตศาสตร์ และการลงมือปฏิบัติจริงโดยให้เด็ก ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

          วิทยาศาสตร์คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา วิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็นขั้นได้แก่ การทดลอง หาวิธีการทดลอง 
ตั้งสมมุติฐาน ลงมือปฏิบัติ ทักษะการสังเกต เก็ยบรวบรวมข้อมูล เอามาสรุปและอภิปราย ตรวจสอบสมมุติฐานว่าตรงกับโจทย์ไหม

       พลังงงานคือสิ่งที่อยู่รอบตัว ได้แก่ พลังงานลม พลังงานไฟฟ้า พลังงานน้ำ เป็นต้น

สรุป
    วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและค้นหาความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้ทักษะกระบวนการที่ต้องอาศัยการสังเกต การทดลอง ในการหาคำตอบเพื่อแสวงหาความจริงทางวิทยาศาสตร์


 ความคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ระบบนิเวศ ถ้าเมื่อไหร่เกิดความไม่สมดุลก็จะเกิดปัญหาหรือเกิดผลกระทบตามมา
1.ความสมดุล
2.การเปลี่ยนแปลง
3.ความแตกต่าง
4.การปรับตัว
5.การพึ่งพาอาศัยกัน

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1 อยากรู้อยากเห็น
2 มีความเพียรพยายาม
3 มีความซื่อสัตย์
4 มีเหตุมีผล
5 มีความใจกว้าง
6 มีระเบียบและรอบคอบ

 ความรู้เพิ่มเติ่ม
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ -วิทยาศาสตร์ช่วยฝึกทักษะต่างๆ
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์    - วิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาแนวคิดพื้นฐานช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเรามากขึ้น

การเรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัตืจริง การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
        พัฒนาการทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวมยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ 

สาระสำคัญ 4 ด้าน 
 1.ความรู้เกียวกับตัวเด็ก
 2. ความรู้เกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมรอบตัวเด็ก
 3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
 4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

ทักษะที่ได้ (skill)

1.การคิด การฝึกวิเคราะห์
2.การคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์
3.วิธีการจัดการเรียนรู้
4.การสื่อสาร

 เทคนิคการสอน (Technique teaching)
 
1.อาจารย์ได้ตั้งคำถามว่า วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร เพื่อที่จะให้นักศึกษาตอบคำถามก่อนเรียน
2.อาจารย์ ยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาฟัง พร้อมอธิบายเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้ นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
3.การใช้เทคนิกการสอนที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เข้าใจง่าย

 การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)

       ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น และการนำวิทยาศาสตร์เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี และได้เรียนรู้ว่าวิทยาศาสตร์อยู่รอบๆตัวเราทุกอย่าง เราสามารถเอาสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ดีขึ้น


ประเมินผล (Assessment)

ประเมินตนเอง 



           ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย


ประเมินเพื่อน 


เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  


           อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจ


คำศัพท์ 5 คำ  (Vocabulary)


1.Knowledge = ความรู้
2.early childhood = เด็กปฐมวัย
3.Power = พลังงาน
4.activities = กิจกรรม
5.science = วิทยาศาสตร์





Record 1
Tuesday 9 August 2559

บรรยากาศในห้องเรียน
          
           วันนี้เป็นการเรียนวันแรกของรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยบรรยากาศภายในห้องเรียนรู้สึกครึกครื้นมาก  อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำบล็อก และว่าในส่วนประกอบของบล็อกในรายวิชานี้จะต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง วันนี้เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับวิทยาศาตร์ว่าวิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร เป็นการพูดคุยความรู้รอบตัวของนักศึกษา ก่อนที่เราจะเข้าสู้เนื้อหาการเรียนอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง 

ความรู้ที่ได้รับ  (Knowledge)

1.การคิด การฝึกวิเคราะห์
2.การคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์
3.วิธีการจัดการเรียนรู้
4.การสื่อสาร

 ทักษะที่ได้ (skill)

 1.ทักษะการฟัง
2.ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
3.2.การคิดแบบมีความคิดสร้างสรรค์
 
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)

         

         ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น และการนำวิทยาศาสตร์เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี และได้เรียนรู้ว่าวิทยาศาสตร์อยู่รอบๆตัวเราทุกอย่าง เราสามารถเอาสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ดีขึ้น

 

เทคนิคการสอนของครู (Technique teaching)
1.อาจารย์ได้ตั้งคำถามว่า วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร เพื่อที่จะให้นักศึกษาตอบคำถามก่อนเรียน
2.อาจารย์ยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาฟัง พร้อมอธิบายเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
3.การใช้เทคนิกการสอนที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เข้าใจง่าย

ประเมินผล  (Assessment)

ประเมินตนเอง 


           ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจในเวลาที่เพื่อนตอบ หรืออาจารย์เฉลย


ประเมินเพื่อน 


เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

ประเมินอาจารย์  


           อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใ


คำศัพท์  5 คำ
1.การประเมิน = Assessment
2.เนื้อหา = Substance
3.การจัดประสบการณ์ = Experience
4.วิเคราะห์ = Analyse
5.บรรยาย = Narrate